ปัญหาเรื่องความเชื่อถือได้และความถูกต้องของการทดสอบพนักงาน

การทดสอบทางจิตวิทยา แท้จริงแล้วเป็แต่เพียงวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ใช้วัดส่วนหนึ่งของพฤติกรรมทั้งหมดดังนั้นจึงย่อมเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องการสุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง และจะต้องมีการกำหนดขอบเขตว่าเป็นการทดสอบเกี่ยวกับเรื่องใดของพฤติกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของผู้จัดทำการทดสอบที่จะต้องรับผิดชอบในการกำหนดขอบเขตให้แจ้งชัด นอกจากนี้ยังเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกข้อสอบที่จะต้องพัฒนาการทดสอบให้ต้องตรงตามความต้องการที่จะวัด และจะต้องให้เป็นที่ยอม

รับเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ เช่น ความสามารถวัดจนอาจจะกล่าวได้ว่ามีความคงเส้นคงวาที่เชื่อถือได้ ความเชื่อถือได้นี้ย่อมเกี่ยวข้องกับการที่จะต้องทำในระยะเวลายาวนานและจำเป็นที่จะต้องมีขนาดของจำนวนได้พิสูจน์ที่มากพอด้วย ความเชื่อถือได้ของการทดสอบมักจะเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ในบรรดาผู้เกี่ยวข้อง และคำถามมักจะตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอว่า มาตรฐานการทดสอบนั้นถูกต้องเพียงใด ดังนั้นจึง

เป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับด้านพนักงานที่จะต้องพิจารณาความถูกต้องของการทดสอบแต่ละอย่าง ที่จะต้องดูว่าน่าเชื่อถือได้หรือพอเชื่อถือได้เพียงใดในการที่จะนำเอาผลการทดสอบมาคาดการณ์ความสำเร็จในงาน ก่อนที่จะยอมรับและนำมาใช้เป็นประจำ

ในเรื่องของความถูกต้องนั้น อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าความถูกต้องหมายถึงขนาดซึ่งเครื่องมีอที่ใช้ในการทดสอบจะสามารถออกมาในสิ่งที่วัด หรือได้ทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องตามที่ได้กำหนดเอาไว้ในเรื่องของความถูกต้องนี้อาจแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด คือ

1.  Empirical Validity ซึ่งหมายถึงความถูกต้อง ซึ่งได้จากการทดสอบ เช่น การทดสอบความสามารถของผู้ที่จะเข้าทำการศึกษาต่อ ทั้งนี้เพื่อที่จะทายหรือวัดผลงานหรือความสามารถบางอย่าง อย่างเช่นกรณีของคะแนนจากการสอบที่เป็นเกรดเป็นต้น ซึ่งในที่นี้คะแนนทดสอบที่ออกมาได้มักจะถือว่าเป็นตัวบอกอาการหรือเครื่องชี้ (Predictor) และการวัดเกี่ยวกับผลงานมักจะเรียกว่าเกณฑ์ (Cri­terion)

2.  Content Validity ซึ่งเป็นความถูกต้องประเภทที่สอง ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับรายการในเนี้อหาเกี่ยวกับการทดสอบ เช่น การทดสอบการพิมพ์ดีดซึ่งมักจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด หรืออย่างกรณีของ Face Validity ซึ่งมีทำนองคล้ายกับ Content Validity คือหมายถึง กรณีของการทดสอบความสามารถในการดูหรือการมอง (look) ว่ามีความสามารถที่จะมองในสิ่งที่ต้องการจวัดได้ถูกต้องเพียงใด เช่นการทดสอบคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมักจะมีการถามให้มีการจำกัดความและสะกดภาษาฝรั่งเศสเป็นคำ ๆทั้ง 2 กรณีของการทดสอบนี้มักจะต้องใช้ดุลยพินิจและทำการทดสอบโดยผู้ชำนาญเสมอ

 

3.  Construct Validity เป็นวิธีที่ยากที่สุดของการทดสอบความถูกต้องเพื่อที่จะมีความเข้าใจ และเพื่อที่จะให้สมบูรณ์ถึงกับมีการพิสูจน์ความถูกต้องด้วย วิธีนี้หมายถึงการวัดในการทดสอบเกี่ยวกับคุณภาพในทางจิตวิทยา เช่นระดับสติปัญญาหรือความคิดภายในแต่ละคน (Intelligence หรือ Introver­sion) วิธีการทดสอบเช่นนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุดในเชิงทฤษฎีของการทดสอบ ทั้งนี้เพราะว่าวิธีนี้ได้มี จุดมุ่งหมายที่จะทำการวัดความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบและสิ่งซึ่งไม่สามารถมองเห็นหรือที่ได้ส่วนของโครงสร้างสำคัญภายใน เช่น ระดับสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดเป็นต้น

 

ในเรื่องของความเชื่อถือได้และความถูกต้องนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งของการทดสอบ ทั้งนี้เพราะว่าถ้าหากการทดสอบไม่สามารถวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดแล้วก็คงจะไม่มีประโยชน์ประการใด อย่างไรก็ตามในเรื่องของการทดลองนี้ยังจำเป็นจะต้องมีความเชื่อถือได้ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งนับว่าความเชื่อถือได้นี้เป็นความสำคัญประการที่สองของการทดสอบ ซื่งนักจิตวิทยาส่วนใหญ่มักจะพิจารณาในความหมายที่ว่าความเชื่อถือได้นั้นก็คือ การที่จะต้องนำมาใช้ใด้อย่างคงเส้นคงวา หรือสามารถพิสูจน์ความเป็นปกติที่จะสามารถทำมาใช้อย่างเสมอต้นเสมอปลายได้ ความเชื่อถือได้ของการทดสอบ หมายถึงว่า คะแนนที่นำมาทดสอบโดยคน ๆ เดียวกันหลาย ๆ ครั้งเช่น ถ้าหา เอาข้อสอบหลาย ๆ ชุดมาทำการทดสอบคน ๆ นั้นแล้ว คะแนนที่ออกมาในแต่ละครั้งควรจะใกล้เคียงกัน หรือควรจะตรงกัน การทดสอบความเสมอต้นเสมอปลายนี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่ง

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการทดสอบออื่น ๆ

นอกเหนือจากความเชื่อถือได้และความถูกต้องที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทดสอบทางจิตวิทยาแล้ว ยังมีข้อพิจารณาอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงด้วยคือ

1.  ต้นทุน โดยปกตินั้นต้นทุนของการทดสอบมักจะไม่มีความเกี่ยวพันกับคุณภาพของการทดสอบมากนัก ดังนั้นแม้จะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณก็ตาม การทดสอบก็จะสามารถจัดขึ้นได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก

2.  เวลา โดยปกติส่วนมากมักจะชอบให้มีวิธีทดสอบที่ใช้เวลาแต่เพียงสั้น ๆ ดังนั้นถ้าหากกา ทดสอบจำเป็นต้องเป็นการทดสอบที่ต้องใช้เวลามากและยาวนานแล้ว ก็อาจจะทำให้เครื่องมือของการทดสอบนี้ ให้ผลในทางกลับกันคือก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายและความไม่ร่วมมือ

3.  การขาดโอกาสในการที่จะบริหารหรือให้คะแนน โดยปกติการทดสอบจำเป็นที่จะต้องมีการอาศัยบริการของผู้ชำนาญการที่เกี่ยวกับการทดสอบให้เข้ามาช่วยคิดคะแนนและวัดผล ในกรณีเช่นนี้เองจึงมักจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการหาผู้ที่จะดำเนินการให้