กิจกรรมปรับปรุงทักษะการฟัง

กิจกรรมปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงทักษะการฟัง กิจกรรมปฏิบัติการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วน ซึ่งใช้ในการสัมมนาเรื่องการสื่อสารและการฟัง และไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมใดก็ตาม ที่ท่านพยายามปรับปรุงแก้ไข ท่านย่อมพบว่าวิธีการฝึกปฏิบัติจะช่วยให้ได้ผลสมบูรณ์ที่สุดด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ กิจกรรมฝึกปฏิบัติต่อไปนี้ จะช่วยท่านให้ดึงแนวความคิดในเรื่องการฟังออกมาใช้ ในสภาพของพฤติกรรมจริงที่ดำเนินอยู่ประจำวัน นอกจากนี้ การเติมข้อความให้สมบูรณ์ใน “แผนการฟัง” ที่แนบ ไว้ท้ายบทนี้ จะช่วยท่านให้ดำเนินตามเป้าประสงค์ของการเป็นนักฟังไว ที่แท้จริง กิจกรรมที่ ๑  จงพยายามฟังบทสุนทรพจน์หลาย ๆ บท ซึ่งอาจจะมี คำพูดหลาย ๆ คำที่ท่านไม่คุ้นเคย ขณะที่ท่านฟัง จงพยายามเดาความหมายของคำพูดที่ไม่เคยรู้มาก่อนโดยพึ่งเนื้อความที่ใช้อยู่ ท่านต้องฝึกกิจกรรมเหล่านี้หลาย ๆ ครั้ง เพราะจะช่วยท่านให้ปรับปรุงคำศัพท์และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของการฟัง วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการฟังคำศัพท์ เพื่อจะได้ไม่รู้สึกขุ่นมัวด้วยคำพูดที่ซับซ้อน ซึ่งไม่รู้ความหมาย และอาจจะช่วยท่านให้ปรับคลื่นการรับฟังให้ตรงกับผู้พูดได้ กิจกร5นที่ ๒ จงทำสิ่งที่ผิดปกติจากที่เคยทำ ด้วยการสนทนากับบุคคล ซึ่งมีวิถีการพูด ที่ทำให้ท่านเกิดความลำบากใจในบทบาทของผู้ฟัง และด้วยการเปิดตนอย่างสมํ่าเสมอให้เผชิญกับหลาย ๆ บุคคล ที่มีวิถีการสื่อสารซึ่งสร้างความลำบากใจให้ และด้วยการเปิดโอกาสให้ตนได้ฝึกทักษะการฟังระหว่างที่มีการสนทนากัน ท่านย่อมจะสบายใจและมีประสิทธิภาพในการฟังการพูดที่มีรูปแบบหลากหลายได้มากขึ้น กิจกรรบที่ ๓ จงใช้จินตนาการว่า ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า ท่านมีนัดกันบุคคลที่ต้องการพูดคุยกับท่าน บุคคลผู้นี้มาที่สำนักงานของท่านและอยากที่จะพบท่านจริง […]

กฎพลังอำนาจในการฟัง

บทบัญญัติ ๑๙ ประการของพลังอำนาจในการฟัง กฎสำหรับการเป็นผู้ฟังที่ดี เกี่ยวข้องกับเรื่องของมารยาทและสามัญสำนึก กฎบางข้ออาจจะมีลักษณะชัดเจน หรือหยุมหยิม แต่ก็เป็นที่ประหลาดใจ ว่ามีคนจำนวนมากลืมกฎเหล่านั้น และดูหมิ่นผู้พูดโดยมิได้ตั้งใจ บ่อยที่ ท่านอาจจะไม่มีความตั้งใจที่จะหยาบคาย แต่ความกระตือรือร้นในเรื่องราว และความปรารถนาส่วนตัวที่จะได้ยินตนเองพูด ทำให้ท่านลืมมารยาทที่ดี บางครั้งท่านมีใจจดจ่ออย่างมากอยู่ที่ทัศนะส่วนตัวของท่าน จนทำให้ลืมที่จะ ฟังสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านกำลังพูดอยู่ ท่านไม่ฟังอย่างหน้าตาเฉย ฉะนั้น ขณะที่ท่านกำลังสนทนาอยู่กับอีกบุคคลหนึ่งท่านจึงจำเป็นต้องระวังตน และปฏิบัติตามกฎบังคับต่อไปนี้ ๑. จงจำไว้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะฟังและพูดในเวลาเดียวกัน กฎที่ เป็นพื้นฐานที่สุดของการฟังที่มีประสิทธิภาพข้อนี้ มักจะเป็นข้อที่ถูกละเลยบ่อยครั้งที่สุด ความกระวนกระวายใจอยากจะเพิ่มความคิดเห็นของตนในการสนทนาทำให้คนพยายามพูดวิจารณ์ขณะที่คนอื่นยังพูดไม่จบ เขาคอยหาจังหวะที่หยุดสนทนาและ “รีบใส่’’ คำวิพากษ์วิจารณ์ไปที่อีกบุคคลหนึ่งทันทีทันควัน การขัดคอด้วยคำวิจารณ์ ที่สุ่มเดาเอา ย่อมเป็นการยั่วโทษะผู้พูดและเป็นการชะลอให้สนทนาช้าลง เพราะว่า ผู้ที่เริ่มต้นพูด ต้องมัวแต่คอยหลบเลี่ยงคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น และยังคงต้องรักษาแนวความคิดให้ต่อเนื่องกับสิ่งที่ได้เริ่มพูดไว้แทนที่จะขัดจังหวะผู้พูดท่านน่าจะคอยจนกว่าฝ่ายผู้พูด ได้แสดงความคิดจบแล้ว แล้วโอกาสก็จะเป็นของท่าน -ด้วยความหวัง ที่จะไม่ถูกขัดจังหวะที่จะแสดงความคิดเห็นของท่านให้เป็นที่ทราบ ผู้ฟังที่ดีย่อมปล่อยตนสบายๆ และไม่แสดงท่าว่าต้องการพูดแทรก การขัดจังหวะเพียงประเภท เดียวเท่านั้นที่คนทั่วไปพอไจ คือ การปรบมือยกย่อง ผู้พูดจะยอมรับการให้ความเห็นชอบเช่นนี้ด้วยการยิ้ม แต่ถึงแม้จะยินดี เขาก็อาจจะสะดุดความคิดทำให้ไม่ต่อเนื่อง และต้องเสียเวลาตั้งสติใหม่ เพื่อดำเนินความคิดของตนต่อไป การแสดงท่าทางต่อคำพูดของผู้พูด […]

อุปสรรคต่อประสิทธิภาพของการฟัง

ในสังคมปัจจุบัน มีเครื่องกีดขวางที่เป็นอุปสรรคสำหรับการฟังอยู่ เป็นจำนวนมาก เครื่องกีดขวางบางประเภทก็ปรากฎชัดเจน บางประเภทก็สลับซับซ้อน ถ้าท่านไม่รู้ว่าเครื่องกีดขวางเหล่านี้มีอยู่ ท่านย่อมไม่มีโอกาส มากนักที่จะจัดการและเอาชนะมันได้ถ้าจะต้องการเป็นนักฟังที่ดีขึ้น เราหวัง ว่าเนื้อหาในภาคนี้จะทำให้ท่านตระหนักชัดเจนในอุปสรรคต่อประสิทธิภาพ ของการฟัง ในด้านการศึกษา ด้านพฤติกรรม ด้านจิตวิทยา และด้านร่างกาย ด้วยความเข้าใจแนวใหม่นี้ ท่านจะเตรียมตนได้พร้อมยิ่งขึ้นที่จะเผชิญและเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้ แรงจูงใจและทัศนคติ แรงจูงใจและทัศนคติอาจเป็นเครื่องยับยั้งการฟังมิให้มีประสิทธิภาพได้ มนุษย์เราย่อมได้ยินสิ่งที่เราต้องการได้ยิน และเราย่อมไม่ได้ยินสิ่งที่เราไม่ต้องการได้ยิน เมื่อท่านเข้าไปในสภาพแวดล้อมที่ต้องฟังโดยปราศจากทัศนคติและแรงจูงใจ ย่อมไม่มีวิถีทางใดที่จะทำให้ท่านได้ยิน ได้ฟัง หรือเกิดความเข้าใจสิ่งที่บุคคลอื่นกำลังสื่อสารให้ทราบ ท่านน่าจะได้อยู่บ้านเสียยังดีกว่า ถ้าท่านไม่ฟังบุคคลอื่น ก็จงไปเสียที่อื่นดีกว่าที่จะมีทีท่าเพิกเฉยและดูหมิ่นผู้พูด การขาดสมาธิและความตั้งใจ  มีคนจำนวนมากที่เป็นผู้ฟังที่ไร้ประสิทธิภาพด้วยเหตุเพราะขาดสมาธิและความตั้งใจ มีคนจำนวนหนึ่งที่มักจะมีความตั้งใจได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และพบว่าเป็นการยากมาก ที่จะมีสมาธิในกิจกรรมภายนอกเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีบางคนที่มีสมาธิที่อ่อนมาก ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ยอมให้ตนเองหลงอยู่ใต้อำนาจของอิทธิพลนอก ตัวอย่างเช่น เครื่องกีดขวางยับยั้งการมีสมาธิและความตั้งใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่ง ก็คือ การสันนิษฐานที่ผิด ๆ ที่ว่าท่านสามารถทำอะไร ๒ อย่างในเวลาเดียวกันได้ ตัวอย่างชั้นเลิศก็คือ การที่มีความเชื่อว่าคนเราสามารถอ่านและฟังผู้อื่นพูดทั้งสองอย่างในขณะเดียวกันได้ และไม่มีอะไรที่อยู่เหนือความจริง การที่จะตั้งสมาธิอย่างเต็มที่ในเรื่องที่ท่านกำลังอ่านได้นั้น ท่านไม่สามารถจะฟังคนอื่นพูดได้ และการที่ท่านจะฟังผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ท่านจะต้องตั้งอยู่ในสมาธิและตั้งใจฟังผู้พูด มิใช่สนใจในเอกสารที่อ่านอย่างดีที่สุดที่ท่านสามารถตั้งความหวังได้จากการปฏิบัติ ๒ สิ่งในขณะเดียวกัน […]

การจัดประเภทผู้ฟัง

เราสามารถระบุลักษณะของผู้ฟังได้ ๔ ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน เมื่อใดก็ตามที่บุคคลกำลังฟังตามธรรมดา เขามักจะฟังที่ระดับความตั้งใจ ในระดับใดระดับหนึ่งใน ๔ ระดับ แต่ละระดับต้องการความลึกจำเพาะของสมาธิและความไวของความรู้สึกในส่วนของผู้ฟัง ระดับความตั้งใจเหล่านี้มิได้ขีดขั้นด้วยเส้นแบ่งที่ชัดเจน แต่แบ่งเป็นช่วงกว้าง ๆ ของจำนวนบุคคลที่มีลักษณะการฟังอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ หรือสถานการณ์ที่ผู้ฟังเหล่านั้นมองตนเอง ผู้ฟังประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ ยังอาจจะมีลักษณะซ้ำซ้อนบางส่วนหรือเปลี่ยนไปมา ขณะที่ท่านเปลี่ยนจากระดับ ๑ ไปสู่ระดับ ๒ ระดับ ๓ ถึงระดับ ๔ แสดงว่าอำนาจในการเข้าใจกัน เชื่อใจกัน และการสื่อสารเพิ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น ผู้ไม่ฟัง ในการฟังที่ระดับแรกนี้ ท่านไม่ได้ยินพนักงานของท่านเลย ที่จริงท่านไม่ได้ใช้แม้ความพยายามที่จะได้ยินขณะที่บุคคลอื่นกำลังพูด ผู้ไม่ฟังแสดงสายตาว่างเปล่าเท่า ๆ กับ ท่าทางและอากัปกิริยาที่ประสาท (ขี้กลัว) เขาแสร้งทำเป็นเอาใจใส่ขณะที่คิดถึงสิ่งซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เขามีภาระยุ่งเกินไปในการเตรียมสิ่งที่ตนอยากจะกล่าวต่อไป มากกว่าการฟังสิ่งที่กำลังพูดกันอยู่ขณะนั้น ผู้ไม่ฟังจะวุ่นอยู่กับการทำหน้าที่พูดเสียคนเดียว และจะคอยพูดแทรกตัดกลางประโยคของผู้พูด ยากที่จะสนใจว่าผู้อื่นมีอะไรจะกล่าว และมักจะเป็นคนตัดสินความคนเดียว เขาจะถูกมองในสังคมว่าเป็นคนที่น่าเบื่อและทำเป็นรู้หมดทุกอย่าง ไม่เข้าถึงความรู้สึกของผู้อื่นและไม่เข้าใจผู้อื่น เขาเป็นคนที่ไม่มีใครชอบ หรือเป็นคน “น่ารำคาญ” ในสายตาของคนส่วนใหญ่ ผู้ฟังผิวเผิน […]

เสียงบ่นเกี่ยวกับนักบริหาร

พนักงานมักจะพูดมากเกี่ยวกับตัวผู้บริหารของตน บางเรื่องเป็นเรื่องดี หลายเรื่องเป็นเรื่องร้าย ลองหันมาพิจารณาข้อความทั่ว ๆ ไปที่ได้ยินเสียง กล่าวขานถึงผู้บริหารในเรื่องที่เกี่ยวกับการฟังขณะที่ท่านอ่านเรื่องเหล่านี้ ลองพยายามพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาว่าท่านรู้สึกว่าทำผิดในข้อความใดบ้างหรือไม่ ถ้าเคย ท่านจึงจะรู้ดีว่าท่านควรจะเริ่มต้นโครงการปรับปรุง การฟังของท่านที่จุดใด “ท่านพูดทุกอย่างคนเดียว ฉันเข้าไปพบด้วยปัญหาหนึ่งและไม่มีโอกาสได้เปิดปากพูดเลย” ปัญหาการบริหารงานชั้นสากลก็คือ โรคพูดพล่อย ๆ (Verbal Diarrhea) นักบริหารหลายคนยังคงยึดหลักปรัชญาเก่า ๆที่เชื่อว่า การพูดคือพลัง นักบริหารเหล่านี้จะยึดครองบทสนทนาด้วยการเป็นฝ่ายพูดคนเดียว เขาจะเล่าให้พนักงานฟังว่าปัญหาของเขาคืออะไร เขาจะเป็นผู้บอกพนักงานของเขาว่าปัญหาที่ปรากฏอยู่นั้นจะต้องแก้ไขอย่างไร นักบริหารเหล่านี้ไม่เดือดร้อนว่าอะไรจะเกิดขึ้นรอบ ๆ ตนเมื่อเป็นเรื่องของพนักงาน ถ้าเพียงแต่เขายอมปล่อยให้พนักงานมีโอกาสพูดบางส่วนของตนเขาจะได้เรียนรู้บางอย่างที่สำคัญมาก รู้วิธีการเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล “เธอแทรกพูดขึ้นขณะที่ดิฉันกำลังพูดอยู่” ข้อความนี้เลวกว่า หรือเลวมากกว่าข้อความที่กล่าวข้างบน ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อมีบางคนพูดแทรก ขัดจังหวะด้วยคำสรุปก่อนที่ท่านจะพูดจบ หรือกล่าวกับท่านว่า “ผมรู้ว่าคุณหมายถึงอะไร” ก่อนที่ท่านจะกล่าวจบประโยค จึงไม่สมควรขัดจังหวะ การพูดกลางคัน รักษามารยาทด้วยการปล่อยให้ผู้พูดกล่าวให้จบกระบวน ความคิดที่กำลังหลั่งไหลอยู่ “ผู้บริหารของฉันไม่เคยมองหน้าฉันขณะที่ฉันกำลังพูด ฉันไม่แน่ไจว่าท่านฟังฉันพูดหรือเปล่า?” เป็นเรื่องน่าขบขันที่ว่า ทั้งๆที่ท่านใช้หูในการฟัง แต่คนทั่วไปก็ใช้วิธีตัดสินว่าท่านกำลังฟังอยู่หรือเปล่า จากการมองดูที่ตาของท่าน นี่คือหนึ่งในเสียงบ่นที่พบได้ง่ายที่สุด การรักษาสัมพันธ์ด้วยการสื่อสายตาที่อ่อนโยนต่อกันและกัน เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักฟังที่มีประสิทธิภาพ ถ้าท่านไม่เชื่อ จงคิดว่าท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อมีบางคนไม่มองหน้าท่านเวลาท่านพูดกับเขา ‘‘ผู้บริหารของฉันแสดงปฏิกิริยาให้แนรู้สึกว่า ฉันกำลังทำให้เขาเสียเวลา” […]

ทักษะการฟังของผู้บังคับบัญชา

อำนาจในการฟัง เมื่อไม่นาน คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยโลโยลา ในนครชิคาโกได้ร่วมคณะทำงานศึกษาค้นคว้า เพื่อพิจารณาหาสิ่งสำคัญที่สุดที่มีส่วนสร้างให้นักบริหารมีประสิทธิผล บุคคลคณะนี้ ใช้เวลาถึง ๑ ปีครึ่ง สัมภาษณ์นักธุรกิจจำนวนนับร้อย ๆ คนทั่วประเทศ และในที่สุดก็สรุปตัดสินว่า ในจำนวนแหล่งข้อมูลทั้งหมดที่สามารถช่วยผู้บริหารให้รู้และประเมินบุคลิกภาพของบุคคลในหน่วยงานของตนนั้น ที่สำคัญที่สุดได้จากการฟังพนักงานแต่ละคน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่คาดคิดก็คือว่า ทักษะการฟังมักจะถูกเมินหรือถูกลืมไปเลยในวงการธุรกิจ ตราบใดที่การฟังเป็นเรื่องที่รับเอาอย่างเสียไม่ได้ ปัญหาจากการสื่อสารเป็นจำนวนมากก็เกิดขึ้น ปัญหาเหล่านี้อาจจะหลีกเลี่ยงได้ไม่ยากถ้าคนเราให้การรับรู้ในหลักพื้นฐานของการฟัง และรู้ว่าจะหลีกเลี่ยงหลุมพรางที่มีสาเหตุจากการฟังที่ไม่ดีพอและไม่ครบถ้วนได้อย่างไร วงการธุรกิจหลายๆ แห่ง มีความเพียรพยายามที่จะปรับปรุงการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสอน การอ่าน การเขียนและการพูด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าองค์การธุรกิจอาจจะตั้งใจที่จะสนับสนุนการเงินในการส่งบุคคลระดับบริหารไปเข้าร่วมในหลักสูตรเหล่านั้น แต่ก็ไม่ค่อยจะส่งบุคลากรของตนเข้าร่วมหลักสูตรที่พัฒนานิสัยการฟัง เหตุผลสำหรับข้อนี้ อาจจะเป็นเพราะได้รับแนวความคิดผิด ๆ ซึ่งยึดถืออยู่โดยบุคคลจำนวนมาก ว่าการฟังเป็นสิ่งสัมพันธ์กับการได้ยิน แม้ว่าคนเราอาจจะได้ยินข้อความทั้งหมด แต่อาจไม่ได้ความหมาย หรือได้ความหมายที่บิดเบือนไป และเป็นการสื่อสารที่ไม่สมบูรณ์ บุคคลหนึ่งอาจจะสามารถได้ยินอย่างดี แต่ด้วยเหตุที่ขาดทักษะการฟังที่ดีพอ สิ่งที่บุคคลผู้นี้เข้าใจอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ได้กล่าวไว้ก็ได้ การฟัง มีความหมายมากกว่ากระบวนการทางสรีระในด้านการได้ยิน มันเป็นกระบวนการในเชิง สติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งบูรณาการผสมกันกับปัจจัยเบื้องต้นด้านสรีระ อารมณ์และสติปัญญาพร้อม ๆ กัน เพื่อค้นหาความหมาย การที่ท่านจะเป็นนักฟังที่ดีได้นั้น ท่านต้องพยายามเป็นคนตรงต่อ จุดมุ่งหมาย […]

ยุทธศาสตร์และเทคนิคการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามอย่างมีทักษะ ทำให้ท่านเริ่มการสนทนาและคงการสนทนาไว้ในทักษะที่นำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา การใช้เทคนิคพูดและทักษะในการตั้งคำถามจะช่วยท่านให้ได้รับข้อสนเทศที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์เท่า ๆ กับจะได้ความไว้วางใจระหว่างท่านและผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน โดยไม่คำนึงว่าพนักงานของท่านจะมีลักษณะเงียบหรือชอบพูดครองการสนทนาเสียคนเดียวก็ตามมารยาทที่ท่านใช้ในการถาม ย่อมมีความสำคัญเท่า ๆ กับเนื้อหาสาระของคำถาม หากท่านต้องการคำตอบต่อคำถามของท่านในลักษณะที่เป็นความจริงและสมบูรณ์ เกี่ยวกับความต้องการและแรงจูงใจของพนักงานของท่าน จงสร้างคำถามที่จะเปิดโอกาสให้ได้รับข้อสนเทศที่ถูกต้อง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถรักษานํ้าใจที่ดีและความเชื่อถือในตัวพนักงานของท่าน หากปราศจากปัจจัยด้านความซื่อสัตย์และความเอาการเอางานจากพนักงานแล้ว กระบวนการตั้งคำถามจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย โปรดระลึกถึงยุทธศาสตร์ต่อไปนี้ ขณะที่ท่านเลือกชนิดของคำถาม จงใช้จังหวะที่กูกต้อง ถ้าพนักงานของท่านยังไม่อยู่ในกรอบความคิดที่พร้อมจะรับฟังคำถาม ท่านย่อมไม่ได้รับคำตอบที่ถูกต้องและมีประสิทธิผล คำถามต้องถามในเวลาที่เหมาะสม การถามคำถามเร็วเกินไปหรือช้าเกินไปจะส่งผลกระทบที่เลวมาก จะมีสภาพคล้ายถามคนหูหนวก จึงใช้ทั้งแนวความคิดและความรูสึกในการตัดสินกรอบความคิดของพนักงาน เพื่อช่วยพิจารณาหาเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งคำถาม จังหวะเวลาที่ถูกต้อง อาจจะมองได้จากทัศนภาพอื่น ๆ เป็นต้นว่า คำถามไม่ควรจะถามเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป จังหวะเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการที่จะได้รับคำตอบ เมื่อได้ถามแล้วควรมีเวลาพอให้พนักงานของท่านได้คิดและหาคำตอบ การถามในเวลาเร็วเกินไป สื่อให้เห็นถึงความใจร้อน และมักจะอยู่ในลักษณะการสืบค้นความจริงมากกว่าการสัมภาษณ์พูดคุย การถามช้าเกินไป สามารถทำให้เกิดความเบื่อหน่ายได้อย่างรวดเร็ว จงมีแผนในการถาม ขอแนะนำให้มีแผนในการถาม แม้ว่าจะไม่แนะให้เรียบเรียงคำพูดที่ใช้ถามในแต่ละโอกาสสำหรับพนักงานแต่ละคน หรือทุก ๆ คนก็ตาม ทั้งนี้หมายความว่า ท่านควรจะมีความคิดเห็นกว้าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ท่านอยากถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ท่านต้องการ การวางแผนที่จะถามทำให้ท่านมีจุดเริ่มต้น ทั้งยังให้ความยืดหยุ่นแก่ท่านที่จะสำรวจหาแหล่งข้อผูลเพิ่มเติม ในขณะที่ผลุดขึ้นในการสนทนาร่วมกัน เมื่อท่านเลิกสนใจคำถามตามแผนและหันไปสำรวจในแหล่งใหม่อื่น ๆ […]